ศูนย์หู การได้ยินและการทรงตัวแบบครบวงจร (โสตประสาท)

รายละเอียด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

รายละเอียด

ศูนย์หู การได้ยินและการทรงตัวแบบครบวงจร (โสตประสาท)

หูเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการได้ยินหรือการรับฟังเสียง รวมถึงการทรงตัวและรักษาสมดุลของร่างกาย ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับหู จะทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน อาจมีอาการเสียงดังในหู หูอื้อ และ/หรือมีระบบการทรงตัวที่ผิดปกติ เกิดอาการเวียนศีรษะ โคลงเคลง ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ หากเกิดในเด็ก จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด รวมถึงการเรียนรู้ด้านต่างๆที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต

โรงพยาบาลราชพฤกษ์ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านนี้ จึงจัดตั้งศูนย์หู การได้ยินและการทรงตัวเพื่อวินิจฉัยโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยอย่างครบวงจร ซึ่งปัจจุบันเราเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีทีมแพทย์โสต ศอ นาสิกเฉพาะทางด้านโสตประสาท (Neurotologist) นักแก้ไขการได้ยินในเด็ก (Pediatric Audiologist) และนักแก้ไขการได้ยิน (Audiologist) รวมถึงเครื่องมือทันสมัยที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุโรคหู การสูญเสียการได้ยินและการทรงตัวทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการให้การรักษาและฟื้นฟูบำบัดในผู้ป่วยแต่ละรายอย่างมีประสิทธิภาพ

บริการของศูนย์หู การได้ยินและการทรงตัว  แบ่งการบริการออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1.การตรวจวินิจฉัยโรค ได้แก่
  • การติดเชื้อของหู (Ear infection)
  • หูน้ำหนวก (Chronic otitis media)
  • หูน้ำหนวกชนิดร้ายแรง (Cholesteatoma)
  • การสูญเสียการได้ยิน (Hearing loss)
  • การสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลัน (Sudden hearing loss)
  • เสียงรบกวนในหู  (Tinnitus)
  • น้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)
  • เวียนศีรษะบ้านหมุนขณะเปลี่ยนท่า (Benign paroxysmal positional vertigo)
  • หินปูนเกาะกระดูกหูชั้นกลาง (Otosclerosis)
  • กระดูกหูเคลื่อนหลุด (Ossicular chain disruption)
  • รูหูตีบ (Ear canal stenosis)
  • เนื้องอกของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (Acoustic neuroma)
2.การผ่าตัด ได้แก่
  • การฉีดยาผ่านเยื่อแก้วหู (Intratympanic injection)
  • การเจาะเยื่อแก้วหูเพื่อใส่ท่อระบายน้ำจากหูชั้นกลาง (Myringotomy with ventilation tube)
  • การผ่าตัดปะแก้วหู (Tympanoplasty)
  • การผ่าตัดกรอกระดูกหลังหูเพื่อรักษาโรคหูน้ำหนวกชนิดร้ายแรง (Mastoidectomy)
  • การผ่าตัดซ่อมกระดูกหูชั้นกลาง (Ossiculoplasty; Stapedectomy/Stapedotomy)
  • การผ่าตัดขยายรูหู (Canaloplasty with split thickness skin graft)
  • การผ่าตัดรักษาเนื้องอกในหู (Benign and malignant tumor removal)
  • การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (Cochlear implantation)
3.การตรวจวินิจฉัยทางโสตประสาท (Special investigation)

3.1 การตรวจคัดกรองการได้ยิน

  • การตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่อง OAE (Screening Otoacoustic emissions; Screening OAEs) เป็นการตรวจคลื่นสะท้อนของเซลล์ขนในหูชั้นใน ซึ่งใช้ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกแรกเกิด ปัจจุบันเด็กทารกที่คลอดในโรงพยาบาลราชพฤกษ์จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทุกราย การตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยวิธีนี้ยังสามารถคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกกลุ่มเสี่ยง (High risk Neonatal Hearing Screening) ตามแนวทางของ Joint Committee on Infant Hearing (JCIH) 2019 ร่วมกับตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brainstem response; ABR) อีกทั้งโรงพยาบาลราชพฤกษ์ยังเป็นโรงพยาบาลที่สามารถให้การตรวจวินิจฉัยการได้ยินในทารกแรกเกิดที่ตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน (refer OAEs) จากโรงพยาบาลอื่นด้วย

3.2 การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางการได้ยิน

การตรวจวินิจฉัยในเด็ก

  • การตรวจการได้ยินพื้นฐานในเด็ก (Behavioral Audiometry/ Visual Reinforcement Audiometry)
  • การตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Acoustic immittance audiometry; tympanometry, acoustic reflex threshold, acoustic reflex decay test)
  • การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brainstem response; ABR)
  • การตรวจการได้ยินระดับก้านสมองแบบหลายความถี่ (Auditory Steady State Response; ASSR) เพื่อหาระดับการได้ยินที่หลงเหลืออยู่ในเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยิน

การตรวจวินิจฉัยในผู้ใหญ่

  • การตรวจการได้ยินพื้นฐานในผู้ใหญ่ (Conventional Audiometry/ Ultra high frequency audiometry)
  • การตรวจสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Acoustic immittance audiometry; tympanometry, acoustic reflex threshold, acoustic reflex decay test)
  • การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brainstem response; ABR)
  • การตรวจวัดแรงดันของน้ำในหูชั้นใน (Electrocochleography; EcochG) เพื่อวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere disease)
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและการทรงตัว
  • ใส่เครื่องช่วยฟังในเด็กและผู้ใหญ่ (Hearing aid fitting)
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินภายหลังจากใส่เครื่องช่วยฟังหรือภายหลังการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (Hearing rehabilitation)
  • ให้คำปรึกษา-ตรวจสภาพเครื่องช่วยฟัง (Hearing education, counseling and hearing aid check up)
  • การฟื้นฟูระบบการทรงตัวจากภาวะเวียนศีรษะบ้านหมุน (Canalith repositioning procedure)