รพ.ราชพฤกษ์ ร่วมงาน Khon Kaen Smart Living Home 2018

นายแพทย์ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลราชพฤกษ์ขอนแก่น ร่วมเวทีเสวนา ในหัวข้อขอนแก่นเมดิคัลฮับ และนำเจ้าหน้าที่ออกหน่วยให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้เข้าชมงาน Khon Kaen Smart Living Home 2018 มหกรรมบ้านและคอนโด ขอนแก่น วันที่ 30 มี.ค.- 8 เม.ย.61 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ขอนแก่น (KICE) ภายในบูธมีกิจกรรม ให้ร่วมสนุกและลุ้นรับของที่ระลึกจากทาง รพ.

adminrph

8 April 2561

กิจกรรมขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2018

ผ่านพ้นกันไปสำหรับงานขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2018 ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2561 โดยในปีนี้มีนักวิ่งเข้าร่วมงานกว่า 6 หมื่นคน โรงพยาบาลราชพฤกษ์ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการทางการแพทย์ให้กับนักวิ่งทุกท่าน ในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น และยังเป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ สร้างมิตรภาพ กระชับความสัมพันธ์ให้กับนักวิ่งและผู้มาร่วมกิจกรรมอีกด้วย กิจกรรมดีๆแบบนี้ ที่จัดขึ้นในจังหวัดขอนแก่นของเรา ยังมีอีกมากมาย นะคะ แล้วพบกันใหม่ในกิจกรรมต่อไปค่ะ

adminrph

29 January 2561

กิจกรรมวันเด็กปี 2561 เพื่อผู้ป่วยเด็ก

โรงพยาบาลราชพฤกษ์ จัดกิจกรรมแบ่งปันรอยยิ้ม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2561 เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กที่เข้ามาพักรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมวันเด็ก พร้อมทั้งมีการแจกขนมและของขวัญวันเด็ก ให้แก่เด็ก ๆ

adminrph

1 January 2561

เมื่อทำงาน จนปวดตัว

สัปดาห์นี้เราจะมาคุยกันเรื่อง ทำงาน…จนปวดตัวกันบ้างนะคะ ด้วยสังคมปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันใจ เพียงแค่ปลายนิ้ว ใช่ค่ะ เพราะแค่ใช้แค่ปลายนิ้ว อวัยวะอื่น ๆ ของเราเลยแทบไม่ได้กระดุกกระดิกกันเลยไงคะ ทำให้งานทุกวันนี้ของเราส่วนใหญ่ จะเป็นการนั่งโต๊ะ แม้จะสะดวกสบาย แต่ก็นำมาด้วยภาวะที่เราเรียกว่า “กลุ่มอาการของชาวออฟฟิศ หรือ Office Syndrome นะค่ะ กลุ่มอาการที่ว่า มักเกิดจากการนั่งทำงานที่ ผิดที่ท่า : หลังค่อม, ก้ม หรือเงยมากเกินไป ผิดที่โต๊ะ หรือผิดที่เก้าอี้ ผิดที่นั่งนานไปหน่อย : คือค้างอยู่ท่าเดิม ๆ ในระยะเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ อาการของออฟฟิศซินโดรมมักไม่ได้มาแค่อย่างเดียว แต่มักมากันเป็นแพ็กเกจเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ไหล่ตึง ไหล่ติด ปวดบ่า ปวดแขน ปวดศอก ปวดข้อมือ เจ็บบริเวณฐานนิ้วโป้ง นิ้วล็อก ในระยะแรก ๆ อาการอาจจะมา ๆ ไป ๆ […]

adminrph

25 April 2560

การตรวจสุขภาพและประโยชน์จากการตรวจสุขภาพ

1. การชั่งน้ำหนัก/การวัดส่วนสูง การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ใช้เพื่อคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) ค่าดัชนีมวลกาย ( Body mass index หรือ BMI )  = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูงยกกำลังสอง (เมตร²) ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลกาย  เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่ายและสามารถใช้กับทุกเพศทุกวัยและทุกเชื้อชาติ ประโยชน์ใช้เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวณได้มากหรือน้อยเกินไป เพราะหากเป็นโรคอ้วนแล้วจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือดและโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่ผอมเกินไปก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 1.1 การตรวจสัญญาณชีพ สัญญาณชีพ คือ อาการสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยบอกถึงความปกติ หรือ ความผิดปกติของร่างกาย สัญญาณชีพประกอบด้วย อัตราการหายใจ อุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต ชีพจร ค่าปกติของสัญญาณชีพของแต่ละบุคคลขึ้นกับอายุ เพศ และการตรวจในขณะพักหรือหลังการเคลื่อนไหว ค่าของสัญญาณชีพก็จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดความผิดปกติในร่างกายหรือเป็นโรคทำให้ทราบถึงสภาพร่างกายของบุคคลนั้นๆได้ 1.2 การตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจร่างกาย […]

adminrph

5 March 2560

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจสุขภาพ การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่แท้จริง เพราะมีโรคหลายชนิดที่เกิดขึ้นแล้ว แต่กลับไม่แสดงอาการกลายเป็นภัยเงียบสร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายของเรา หากได้รับการตรวจค้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเมื่อพบก็จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น อีกทั้งมีโอกาสหายขาดได้ การตรวจสุขภาพต้องตรวจให้เหมาะสมกับตัวเรา เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก โดยเน้นเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรครวมถึงการตรวจการเจริญเติบโตและพัฒนาการว่าสมวัยหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดปกติต่างๆ ที่สำคัญการตรวจสุขภาพตั้งแต่เด็กจะทำให้แพทย์สามารถตรวจหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดกับวัยเด็กและให้การรักษาได้ทันท่วงที เมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการตรวจเฉพาะทางเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคทางสูตินรีเวช  ภาวะสุขภาพหัวใจ เป็นต้น เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุการตรวจสุขภาพเพื่อมุ่งเน้นถึงการค้นหาโรคและการชะลอความเสื่อม ในวัยสูงอายุนี้ควรเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากความเสื่อมถอยของร่างกาย การตรวจสุขภาพประจำปีไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปีเสมอไป แต่ควรเป็นการตรวจตามระยะ ตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย  เช่น โรคทางพันธุกรรม เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การตรวจสุขภาพที่ดีควรให้ข้อมูลแพทย์อย่างละเอียด หลายท่านมักเข้าใจว่าการตรวจสุขภาพ คือ การค้นหาโรค โดยตรวจทางแล็บปฏิบัติการและมุ่งเน้นการรักษาหรือการรับประทานยาเพื่อป้องกันโรคเท่านั้น จึงละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง แท้จริงการตรวจสุขภาพที่ถูกต้อง คือการให้ความสำคัญกับข้อมูล การซักประวัติของแพทย์เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมต่างๆที่ปฏิบัติอยู่ทุกวันตลอดทั้งปีเพื่อวินิจฉัยว่า คุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือไม่ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจร่างกายและเมื่อทราบผลการตรวจร่างกายแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยหันกลับมาใส่ใจดูแลสุขภาพด้วยตัวคุณเอง    นอกจากนั้น เรายังสามารถตรวจสุขภาพด้วยตัวเองได้โดยการสังเกตพฤติกรรม เช่น น้ำหนัก  การวัดรอบเอว ว่าอยู่ในภาวะลงพุงหรือไม่ โดยวัดในแนวสะดือ นำค่าที่ได้ไปหารด้วยส่วนสูง ซึ่งคนปกติจะมีค่าเส้นรอบเอวไม่เกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง หากค่าเกินแสดงว่ามีภาวะลงพุงซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด […]

adminrph

10 February 2560

โรคอ้วน

หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไปหรือผู้ที่มี ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า /30.0การคำนวณ BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)² โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้ การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา […]

adminrph

24 January 2560
1 4 5 6